วันอาทิตย์ที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2559

ความรู้เบื่องต้นเกี่ยวกับวรรณคดีไทย


วรรณคดี แปลว่าเรื่องที่แต่งเป็นหนังสือ มีความหมายตรงกันคำว่า Literature ในภาษาอังกฤษ แต่พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตสถาน พ.ศ. ๒๕๒๕ ให้คำจำกัดความของวรรณคดีว่า หนังสือที่ได้รับยกย่องว่าแต่งดี ปรากฏครั้งแรกในพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งวรรณคดีสโมสร เมื่อวันที่ ๒๓ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๕๗ ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎ เกล้าเจ้าอยู่หัว อ่านเพิ่มเติม

การเขียนเรียงความ


การเขียนเรียงความที่ดี

    การเขียนเรียงความเป็นพื้นฐานของการเขียนที่สามารถนำเอาไปประยุกต์ใช้ในการเขียนในรูปแบบอื่น เช่น การเขียนจดหมาย การเขียนนิยาย หรือการเขียนบันทึกต่างๆ ต่างก็ใช้หลักการของการเขียนเรียงความ อ่านเพิ่มเติม

วันอังคารที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2559

หน่วยการเรียนรู้ที่ 1คำนมัสการคุณานุคุณ

  

   คำนมัสการคุณานุคุณ เป็นผลงานการประพันธ์ของพระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อยอาจารยางกูร) มีเนื้อหาว่าด้วยการน้อมรำลึกและสำนึกในคุณงามความดีของพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ บิดามารดา และครูอาจารย์ โดยมีความมุ่งหมายให้ผู้อ่าน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเยาวชนไทย ยึดมั่นในความกตัญญู  อ่านเพิ่มเติม

ความเป็นมา


คำนมัสการพระพุทธคุณ : อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ ภะคะวา, พุทธัง ภะคะวันตัง อภิวาเทมิ           พระผู้มีพระภาคเจ้า, เป็นพระอรหันต์ดับเพลิงกิเลสเพลิงทุกข์สิ้นเชิง ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง   คำนมัสการพระธรรมคุณ :สวาก ขาโต ภะคะวะตา ธัมโม, ธัมมังนะมัสสามิ   อ่านเพิ่มเติม

ประวัติผู้แต่ง

พระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร) (5 กรกฎาคม พ.ศ. 2365-16 ตุลาคม พ.ศ. 2434) เป็นชาวฉะเชิงเทรา ท่านได้รับสมญาว่าเป็นศาลฎีกาภาษาไทย เป็นผู้แต่งตำราเรียนชุดแรกของไทย เรียกว่า "แบบเรียนหลวง" ใช้สอนในโรงเรียนพระตำหนักสวนกุหลาบ และหนังสือกวีนิพนธ์ที่มีคุณค่าอีกหลายเรื่อง  อ่านเพิ่มเติม

ลักษณะคำประพันธ์



  คำนมัสการคุณานุคุณแต่ละตอนแต่งด้วยคำประพันธ์ประเภทต่างๆดังนี้
  ๓.๑ อินทรวิเชียรฉันท์ ๑๑
  อินทรวิเชียรฉันท์ ๑๑ เป็นฉันท์ที่นำมาแต่งคำนมัสการคุณานุคุณ มาตาปิตุคุณ และอาจริยคุณ มีลักษณะบังคับ ดังแผนผังต่อไปนี้  อ่านเพิ่มเติม




เนื้อเรื่อง

   
คำนมัสการพระพุทธคุณ
  อินทรวิเชียรฉันท์ ๑๑
                                        องค์ใดพระสัมพุทธ              สุวิสุทธะสันดาน
                                     ตัดมูลกิเลสมาร                   บ่มิหม่นมิหมองมัว
                                     หนึ่งในพระทัยท่าน             ก็เบิกบานคือดอกบัว
                                     ราคีบ่พันพัว                         สุวคนธะกำจร                       อ่านเพิ่มเติม

คำศัพท์ที่น่าสนใจ

กังขา  หมายถึง ความสงสัย ความเคลือบแคลง
การุญภาพ หมายถึง ความเป็นผู้มีความกรุณา
เกลศ เป็นคำยืมสันสกฤตตรงกับคำบาลีว่า กิเลส หมายถึง เครื่องทำใจให้เศร้าหมอง ได้แก่ ความโลภ ความโกรธ ความหลง
แกล้ง ในที่นี้หมายถึง ตั้งใจ เป็นความหมายที่ใช้กันในสมัยโบราณ
คุณานันต์  มาจากคำว่า คุณ+อนันต์  แปลว่า คุณมาก
จัตุสัจ  หมายถึง  อริยสัจ4 คือ ความจริงอันประเสริฐ4ประการ ได้แก่ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค
ชนกคุณ  หมายถึง พระคุณของพ่อ
แดนไตร  หมายถึง  โลกทั้ง3 ได้แก่ สวรรค์ มนุษยโลก และบาดาล หรือ กามภูมิ รูปภูมิ และอรูปภูมิ
ตราก  มาจากคำว่า ตรากตรำ แปลว่า ทนทำอย่างไม่คิดถึงความลำบาก
นมัสการ หมายถึง  การกราบ การไหว้ การคารวะ
นิรา  หมายถึง  ไปจาก ไม่มี
นุกูล  มาจากคำว่า อนุกูล หมายถึง เกื้อกูล สงเคราะห์
บูชไนย  หมายถึง  พึงบูชา ควรบูชา เหมือนคำว่า ปูชนีย
บำราศ หมายถึง จากไป
ปิตุ  หมายถึง พ่อ บิดา
พสุนธรา  หมายถึง  แผ่นดิน
ภควันต์  หมายถึง พระนามหนึ่งของพระพุทธเจ้า
อนุสาสน์  หมายถึง  คำสั่งสอน จากคำประพันธ์นี้ แปลว่า สอน
อัตถ์ หมายถึง เนื้อความ
อาจริยคุณ   มาจากคำว่า อาจริย+คุณ แปลว่า พระคุณของครู
อุตมงค์  หมายถึง  ส่วนที่สูงที่สุดของร่างกาย หมายถึง ศีรษะ
เอารสทศพล  หมายถึง  บุตรของพระพุทธองค์ หมายถึง พระภิกษุ

โอฆ  หมายถึง ห้วงน้ำ ในพระพุทธศาสนา หมายถึง กิเลสที่ท่วมทับจิตใจของหมู่สัตว์

ความรู้เพิ่มเติม


ความหมายของ เครื่องสักการบูชาพระรัตนตรัย
1. ธูป   เป็นสิ่งสำหรับสักการะบูชาพระพุทธเจ้า(โดยเฉพาะ)  บางท่านอาจจะมีคำถามแย้งขึ้นมาในใจว่า แล้วทำไมต้องมี 3 ดอก คำตอบมีดังนี้ครับ
        พระพุทธเจ้าของเราทั้งหลายนั้น พระองค์มีพระคุณมากมายสุดที่จะพรรณาได้ แต่เมื่อย่อลงให้น้อยที่สุดก็จะเหลือเพียง 3 ประการ  อ่านเพิ่มเติม

บทวิเคราะห์ วิจารณ์

คุณค่าด้านเนื้อหา
 ๑.     คำนมัสการพระคุณ มีเนื้อหาสำคัญคือ การสรรเสริญพระคุณของพระพุทธเจ้า
๒.   คำนมัสการพระธรรมคุณ พระธรรมคือ คือคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า

๓.    คำนมัสการพระสังฆคุณ ถ้าพรพุทธองค์ไม่ได้ทรงสถาปนาคณะสงฆ์ขึ้นหลักธรรมที่พระพุทธองค์ทรงค้นพบย่อมสูญสิ้นไปพร้อมกับเสด็จดับขันธ์ป อ่านเพิ่มเติม